ท่อทองแดง แป๊ปทองแดง

ท่อทองแดง แป๊ปทองแดง คุณสมบัติ อายุการใช้งานยาวนาน เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับ ระบบประปา ระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็น และระบบก๊าซอุตสาหกรรม/การแพทย์ ท่อทองแดง ได้รับการผลิตขึ้น เพื่อให้ตรงตาม มาตรฐาน ASTM โดยผลิตจาก สินแร่ทองแดง บริสุทธิ์อย่างน้อย 99.9% (Deoxidized with phosphorus Copper) UNS C12200

สำหรับ ท่อทองแดง ใช้ใน ประเทศไทย สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 

  1. ท่อทองแดง เส้นตรง มาตรฐาน ASTM B88 Type K, Type L และ Type M
  2. ท่อทองแดง เส้นตรง มาตรฐาน ASTM B819 Type K และ Type L
  3. ท่อทองแดงม้วน มาตรฐาน ASTM B280 หนา เบอร์ 18, เบอร์ 19, เบอร์ 22 และ อื่นๆ

ท่อทองแดง แป๊ปทองแดง เส้นตรง ชนิดแข็ง (Hard Drawn Temper)

ท่อทองแดง เส้นตรง ชนิดแข็ง สามารถ จำแนกตามความหนา ได้ 3 ความหนา คือ ความหนา Type K, ความหนา Type L และ ความหนา Type M โดยที่ ท่อทองแดง Type K มีความหนาของท่อ (wall thickness) หนากว่า ท่อ Type L และ ท่อทองแดง Type L มีความหนาของท่อ (wall thickness) หนากว่า ท่อ Type M สำหรับเส้นผ่านศูนย์เดียวกัน ท่อทองแดงชนิดแข็ง (Hard Drawn Temper) ไม่สามารถดัดงอ หรือ ทำมุมฉาก ได้ จำเป็นต้องใช้ ข้องอทองแดง ข้อต่อทองแดง (Copper Fittings) และ Harris ลวดเชื่อมเงิน (Silver Brazing Alloy) ทำการเชื่อมเพื่อเดินท่อทำมุมฉาก ตามมุมตึก

แป๊ปทองแดง เส้นตรง ทุกๆ Type สามารถ ทนแรงดันได้มากกว่า แป๊ปทองแดงม้วน ASTM B280 / JIS H3300 เพราะ อบด้วยเตา drawn (hard temper) ทำให้ ท่อทองแดง ขนาดเดียว ความหนาท่อเดียวกัน และ ใช้เดิน สสาร เดียวกัน ที่อุณหภูมิ เหมือนกัน, ท่อทองแดง เส้นตรง ทนแรงดัน ได้มากกว่า ท่อทองแดงม้วน สามารถ คลิก ท่อทองแดง พิเศษ เพื่อดู สูตร คํานวณ ค่าแรงดันที่ท่อทองแดง แต่ละชนิดทนได้

เลขมาตรฐาน ASTM สำหรับ ท่อทองแดง เส้นตรง

มีอยู่ 2 เลขมาตรฐาน คือ ASTM B88 และ ASTM B819 โดย เลขมาตรฐาน ทั้งคู่ ที่ขนาดเดียวกัน มี เส้นผ่านศูนย์กลาง และ ความหนาของท่อ ที่เท่ากัน จะแตกต่างตรงที่ ท่อทองแดง ASTM B819 หลังการผลิตด้วยเครื่องจักร จะถูกล้างอีกรอบ ด้วยไนโตรเจนและปิดปลายด้วยฝาอุดเพื่อรักษาแรงดันบวกของไนโตรเจนภายในท่อ ส่วนด้านความสะอาดภายใน เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความสะอาดที่ระบุใน NFPA 99 หรือ ข้อกำหนดของ Compressed Gas Association CGA G-4.1 ทำให้ ท่อทองแดง ASTM B819 เหมาะกับ งานระบบ ก๊าซทางการแพทย์ ส่วน ท่อทองแดง ASTM B88 เหมาะกับ งานระบบทั่วๆไป อาทิ ระบบประปา ระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็น และ ระบบก๊าซอุตสาหกรรม

ท่อทองแดง เส้นตรง ชนิดแข็ง พร้อมส่งมอบ
รูป ท่อทองแดง เส้นตรง ชนิดแข็ง พร้อมส่งมอบ

ท่อทองแดงม้วน แป๊ปทองแดงม้วน ชนิดอ่อน (Soft Annealed Temper)

ท่อทองแดงม้วน แป๊ปทองแดงม้วน มาตรฐาน ASTM B280 / JIS H3300 อบแบบนิ่ม (Soft Annealed Temper) ทำให้สามารถดัดทำมุม 90° หรือ 45° โดยใช้เครื่องมือดัดท่อ ไม่ต้องพึ่ง ข้องอทองแดง ข้อต่อทองแดง (Copper Fittings) โดย ท่อทองแดงม้วน เบอร์18 จะมีความหนามากที่สุด (wall thickness) อยู่ที่ 1.2 mm  ส่วน ท่อทองแดงม้วน เบอร์ 19 จะมีความหนา (wall thickness) รองลงมา อยู่ที่ 1.0 mm  และ ความหนาของ ท่อทองแดงม้วน จะลดลงไป เรื่อยๆ เมื่อ เบอร์ ของท่อทองแดงม้วน มากขึ้น 

ความหนาของ แป๊ปทองแดงม้วน ยิ่งหนามาก จะสามารถทนอุณหภูมิ ร้อนจัด/ เย็นจัด ได้ดีกว่า แป๊ปทองแดงม้วน ที่ บางกว่า อีกทั้ง ท่อทองแดงม้วน ชนิดหนา จะทนแรงดัน ได้มากกว่า ท่อทองแดงม้วน ที่บางกว่า อย่างไรก็ตาม ท่อทองแดงม้วน ASTM B280 / JIS H3300 ทุกๆเบอร์ อบด้วยเตา annealed (soft temper) ส่วน ท่อทองแดง เส้นตรง ทุกๆ Type อบด้วยเตา drawn (hard temper) ดังนั้น ท่อทองแดง ขนาดเดียว และความหนาท่อเดียวกัน และ ใช้เดิน สสาร เดียวกัน ที่อุณหภูมิ เหมือนกัน, ท่อทองแดงม้วน สามารถทนแรงดันได้น้อยกว่า ท่อทองแดง เส้นตรง

ท่อทองแดงม้วน ขนาด 3/4
ท่อทองแดงม้วน ขนาด 3/4″ หนา 1.2 mm (เบอร์ 18)

ส่วนผสมโลหะ ผลิต ท่อทองแดง แป๊ปทองแดง

ทองแดง ที่ใช้ผลิต ท่อทองแดง ASTM (Deoxidized with phosphorus Copper)ส่วนผสมทางเคมี % ท่อทองแดง แป๊ปทองแดง
ทองแดง (Cu)ฟอสฟอรัส (P)
มาตรฐาน ทองแดง UNS C12200≥ 99.90.015-0.040
คุณสมบัติ ท่อทองแดง UNS C12200Metric
จุดหลอมเหลว1,083o C
ความหนาแน่น8.94 gm/cm3 @ 20o C
สภาพต้านทานไฟฟ้า2.03 microhm-cm @ 20o C
สภาพนำไฟฟ้า0.491 MegaSiemens/cm @ 20o C
การนำความร้อน339.2 W/m oK @ 20o C

รายการสินค้า ท่อทองแดง และ ท่อทองแดงม้วน




ตาราง เทียบ ขนาด ท่อทองแดง หน่วยต่างๆ

ตารางด้านล่าง เทียบ ขนาด ท่อทองแดง ทั้งแบบ ม้วน และ แบบเส้นตรง โดยปกติ ท่อทองแดง ในแบบก่อสร้างจะลงขนาดเป็น นิ้ว สำหรับขนาด หุน จะเป็นชื่อเรียก ที่ไว้สื่อสาร กับร้านค้า

ขนาด OD Imperial (นิ้ว)ขนาด OD Decimal (mm)ขนาด หุน (ภาษาเรียกในร้านค้า)
1/83.1751 หุน
3/164.7621 หุน ครึ่ง
1/46.3502 หุน
5/167.9372 หุน ครึ่ง
3/89.5253 หุน
1/212.7004 หุน
5/815.8755 หุน
3/419.0506 หุน
7/822.2257 หุน
1-1/828.5751 นิ้ว 1 หุน
1-3/834.9251 นิ้ว 3 หุน
1-5/841.2751 นิ้ว 5 หุน

การอ่านค่า ใบเซอร์ ท่อทองแดง แป๊ปทองแดง (Copper Tube Certificate)

ท่อทองแดง ผลิตจากโรงงานชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ มักมีใบเซอร์ (Certificate) รับรองการผลิต คุณภาพ ตามมาตรฐาน ASTM อย่างไรก็ตาม ค่าที่ถูกทดสอบด้านวิศวกรรม มีความหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะ ท่อทองแดง ม้วน และ ท่อทองแดง เส้นตรง ต่างมีค่าทดสอบ แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

ใบเซอร์ ท่อทองแดง ม้วน (Copper Pancake Coil Certificate)

ค่าทดสอบ ที่ควรมี มีอยู่ 2 ค่า คือ Elongation และ  Tensile Strength  โดยที่ ท่อทองแดงม้วน ควรมีค่าทั้งสอง ดังต่อไปนี้

ใบเซอร์ ท่อทองแดงม้วน%N/mm2
ElongationE ≥ 40
Tensile StrengthTS ≥ 205

Elongation หรือ “การยืดตัว” เป็นค่าที่ใช้บอกถึงความสามารถในการยืดหรือขยายตัวของวัสดุเมื่อได้รับแรงดึง โดยปกติจะวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ของการเพิ่มความยาวเมื่อเทียบกับความยาวเดิม ค่านี้เป็นตัวบ่งบอกความเหนียวและความยืดหยุ่นของวัสดุ ซึ่งสำคัญมากในอุตสาหกรรมที่ต้องการให้วัสดุรับแรงดึงหรือแรงกระแทกได้ดี เช่น ท่อทองแดงม้วน สำหรับการใช้งานในระบบ เครื่องทำความเย็น

ในการวัดค่า elongation ของ ท่อทองแดงม้วน จะทำการทดสอบการยืดตัวโดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึง (Tensile Test) เพื่อตรวจสอบว่าวัสดุสามารถยืดตัวได้มากน้อยแค่ไหนก่อนที่จะขาดออกจากกัน ซึ่งมีความสำคัญเพราะค่านี้บอกถึงความสามารถของท่อในการรับการโค้งงอ ต้านทานการแตกร้าว และความทนทานเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันหรืออุณหภูมิในระบบ

ท่อทองแดงม้วน ใบเซอร์
ตัวอย่าง ใบเซอร์ ท่อทองแดง ม้วน หนา เบอร์ 18 (Copper Pancake Coil Certificate)

ใบเซอร์ แป๊ปทองแดง เส้นตรง (Copper Straight Pipe Certificate)

การวัด ความแข็ง (Rockwell Hardness) และ ความต้านทานแรงดึง (Tensile Strength) ใน ท่อทองแดง เส้นตรง ควรมีค่าทางวิศวกรรม ดังต่อไปนี้

ใบเซอร์ ท่อทองแดง เส้นตรงHR30TN/mm2
Rockwell HardnessRH > 55
Tensile StrengthTS ≥ 315

การวัดค่า Rockwell hardness HR30T ของ ท่อทองแดง เส้นตรง ใช้ในการประเมินความแข็งของวัสดุ โดยใช้หัวกดแบบเพชรทรงกรวยหรือหัวกดเหล็กกล้าทรงกลมขนาด 1/16 นิ้ว จากนั้นใช้แรงกดทดสอบตามมาตรฐาน ค่า HR30T จะช่วยระบุความแข็งแรงและความทนทานของ ท่อทองแดง แบบเส้นตรง ส่วน Tensile Strength Test คือ การทดสอบแรงดึง วัสดุสามารถยืดตัวได้มากหรือน้อย แค่ไหน ก่อนที่จะขาดออกจากกัน

ท่อทองแดง Type K ใบเซอร์
ตัวอย่าง ใบเซอร์ ท่อทองแดง เส้นตรง ASTM B88 Type K (Copper Pipe ASTM B88 Type K Certificate)

ทำไม ท่อทองแดงเส้นตรง มีค่า Tensile Strength สูงกว่า ท่อทองแดงม้วน

ท่อทองแดงเส้นตรง (ASTM B88 / ASTM B819) มีค่า Tensile Strength สูงกว่า ท่อทองแดงม้วน (ASTM B280 / JIS H3300) เนื่องจากเหตุผลหลักดังนี้:

  • กระบวนการผลิตและการขึ้นรูป: ท่อทองแดงเส้นตรง ผลิตโดยการรีดและดึงขึ้นรูปให้ตรงโดยไม่ต้องผ่านการดัดโค้ง ทำให้เนื้อวัสดุมีการเรียงตัวของโมเลกุลที่เป็นระเบียบมากกว่า ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงทางกล ส่วน ท่อทองแดงม้วน ต้องผ่านกระบวนการดัดม้วน ทำให้มีแรงเค้นสะสมและอาจเกิดการบิดเบี้ยวของโครงสร้างภายใน ส่งผลให้ค่า Tensile Strength ลดลง
  • การอบอ่อน (Annealing): ท่อทองแดงม้วน ผ่านกระบวนการอบอ่อน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความสามารถในการดัดโค้ง การอบอ่อนช่วยให้ ท่อม้วน มีความเหนียวและยืดหยุ่นมากขึ้น แต่จะทำให้ความแข็งแรงและค่า Tensile Strength ลดลงเมื่อเทียบกับ ท่อทองแดงเส้นตรง ที่ไม่ได้อบอ่อน
  • การใช้งานที่แตกต่างกัน: ท่อทองแดงเส้นตรง ใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรงและความคงตัวสูง เช่น การเดินท่อตรง ระยะไกล อาทิในระบบส่งก๊าซ หรือ ระบบทำความเย็น ส่วน ท่อทองแดงม้วน เหมาะกับงานที่ต้องการความยืดหยุ่นในการติดตั้ง เช่น การเดินท่อในพื้นที่คับแคบและการปรับแต่งแนวท่อ ซึ่งความยืดหยุ่นสำคัญกว่าการเดินท่อแนวตรง ระยะไกล

ดังนั้น ความแตกต่างในกระบวนการผลิตและการใช้งานจึงทำให้ ท่อทองแดงเส้นตรงมีค่า Tensile Strength สูงกว่า ท่อทองแดงม้วน

หากท่านผู้อ่าน สนใจ ความแตกต่าง ระหว่าง ท่อทองแดงเส้นตรง อบแบบแข็ง (Hard Temper – H) VS ท่อทองแดงม้วน อบแบบนิ่ม (Annealed – O) VS ท่อทองแดง แบบครึ่งแข็ง ครึ่งอ่อน (Half Hard – 1/2 H) สามารถเยี่ยมชม หมวด บทความน่ารู้ สามารถคลิ๊ก เพื่ออ่านเพิ่มเติม

บริษัท ไทยแน่ วู่จิน จำกัด

224/50-52 ถนนหลานหลวง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100

โทรศัพท์
092-514-1030, 02-121-4505 

LINE ID: THAINAIR
คลิ๊กเพื่อ เพิ่มไลน์ LINE บริษัท ไทยแน่